วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

ตลาดเช้า

แหล่งชอปปิ้งตลาดเช้า : เปิดขายตั้งแต่ 07.00 น.–16.00 น.ที่ชื่อตลาดเช้าเพราะเมื่อก่อนเปิดขายเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น มีสินค้าให้เลือกซื้อมากมายหลากหลายชนิด ทั้งสินค้าพื้นเมืองและจากต่างประเทศ อาทิ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น เครื่องเงิน ไม้แกะสลัก เครื่องจักสาน งานฝีมือต่าง ๆ



ท่าเสด็จ



ท่าเสด็จ:ท่าเทียบเรือและด่านพรมแดน(เก่า)ของจังหวัดหนองคาย ปัจจุบันย้ายออกไปทำการที่ "ด่านสะพานมิตรภาพ"แล้วครับ ชื่อท่าเสด็จนั้นได้มาจากในวันเปิดใช้ท่าเรือ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน" พร้อมด้วย "สมเด็จพระบรมราชินีนารถ"ได้พระราชดำเนินเสด็จมาเปิดด่านแห่งนี้ด้วยพระองค์เองชื่อ "ท่าเสด็จ"จึงมีที่มาอย่างนี้แหละครับ ในปัจจุบันการเดินทางข้ามไปยังฝั่ง "ส.ป.ป.ลาว"โดยการใช้เรือเป็นพาหนะอนุญาตให้เฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางข้ามพรมแดนต้องใช้บริการรถเมล์และรถตู้ข้ามที่ด่านสะพาน จากการที่ท่าเสด็จต้องลดระดับความสำคัญลงมาเป็นเพียงด่านท้องถิ่นนั้น ไม่ได้ทำให้ชื่อเสียงของที่นี่ต้องลดน้อยถอยลงประการใด อันที่จริงน่าจะเป็นการดีเสียอีกเพราะจะเป็นการลดความคับคั่งของการใช้งานของด่านนี้ อีกทั้งถนนหนทางที่ค่อนข้างแคบ ไม่สะดวกในการให้การบริการแก่นักท่องเที่ยวคราวละมากๆก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทางการมองเห็นถึงปัญหา ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนจังหวัดนี้ยังนิยมมาเยือนท่าเสด็จอยู่ก็คือ "ตลาดสินค้าข้ามแดน"เรียกให้โก้หรูอย่างนั้นแหละครับ ความจริงมันก็คือตลาดสินค้าหนีภาษีนั่นเอง


จังหวัดหนองคาย


จังหวัดหนองคาย :จังหวัดสุดท้ายของเส้นทางสายมิตรภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2และเป็นจังหวัดทางผ่านของเส้นทางสาย "เอเชีย 12"(A12)ซึ่งเป็นแผนการเชื่อมเส้นทางระหว่างประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน รวมถึงมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีนด้วย การเดินทางมาจังหวัดหนองคายนั้นค่อนข้างสะดวก เพราะถนนที่เชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นนั้นเป็นถนนราดยางชั้นหนึ่ง ทั้งนั้น โดยเฉพาะเส้นทางสายมิตรภาพ ณ เวลานี้ ก็ได้ปรับปรุงเป็นถนนราดยางสี่ถึงหกเลนเรียบร้อย ส่วนทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนนบนก็มาสิ้นสุดที่จังหวัดนี้เช่นกันและยังรอการขยายเส้นทาง เพื่อทำการเชื่อมต่อไปยังเพื่อนบ้านในอีกไม่นานนี้ นอกจากการเดินทางโดยทางบกแล้ว ยังสามารถใช้เส้นทางบินภายในประเทศมาลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี และต่อมายังจังหวัดหนองคายโดยรถ "ลิมูซีน"ของเอกชนที่ให้บริการระหว่างสนามบินอุดรธานีและจังหวัดหนองคาย ระยะทางก็เพียงแค่ 50 กิโลเมตรเศษ ยังไม่ทันเหนื่อยดีก็ถึงแล้ว

ตลาดท่าเสด็จ


ตลาดท่าเสด็จ : ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมือง เป็นแหล่งรวมสินค้าที่ในแถบอินโดจีนและยุโรปตะวันออกมีทั้งผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง อาหารแปรรูป และข้าวของเครื่องใช้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า นาฬิกา เครื่องครัว เปิดจำหน่ายทุกวันเวลา 07.00-18.30 น.มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้ามากมาย นอกจากนี้ท่าเสด็จยังเป็นด่านสำหรับคนท้องถิ่นข้ามไปยังลาว ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปต้องใช้ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว



บริษัท ช.ทวี เทอร์โมเทค จำกัด



บริษัท ช.ทวี เทอร์โมเทค จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ช.ทวี ดอลลาเชียน จำกัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตตู้บรรทุกห้องเย็น จากทวีปยุโรป โดยเริ่มก่อตั้งและจดทะเบียนการค้าในปี พ.ศ.2548(ค.ศ.2005)มีสัดส่วนการถือหุ้นคือ ไทย 80% และต่างชาติ 20% ทั้งนี้ ช.ทวี เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการต่อตัวถังบรรทุก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511(ค.ศ.1968)รวมทั้งตัวถังรถบัสด้วยในเวลาต่อมา ช.ทวีได้พัฒนาเทคโนโลยีการบรรทุกขนส่งให้ทันต่อความต้องการของตลาดเสมอมา จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ถึงแม้โรงงานของเรา จะยู่ไกลจากตัวเมืองหลวง แต่เราก็สามารถแข่งขันในระดับประเทศได้ตลอดมา กระทั่งในปี 2548(ค.ศ.2005)ทาง บริษัท ช.ทวี เทอร์โมเทค จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขนส่งสินค้า โดยใช้ตู้บรรทุกห้องเย็น เพื่อรักษาคุณภาพสินค้า โดยนำเทคโนโลยีผนังแซนด์วิช ซึงเทคโนโลยีนี้ เป็นเทคโนโลยีชั้นสูง, คุณภาพดี, น้ำหนักเบา, ใช้งานได้ทนทานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ปัจจุบันนี้ ทางบริษัท ช.ทวี เทอร์โมเทค จำกัด ยังได้รับการส่งเสริมการส่งออก (BOI) จากทางรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว

อู่เชิดชัย









อู่เชิดชัย : ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นอู่ที่ผลิตรถบัสขนาดใหญ่ทั้งรถพัดลม,รถทัวร์,รถมินิบัส และรถปรับอากาศทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

โรงไฟฟ้าลำตะคอง



เขื่อนลำตะคอง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงาม และชมพระอาทิตย์ตกในเวลาเย็นเป็นสถานที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว เพราะอยู่ติดกับถนนมิตรภาพมีประชาชนเดินทางผ่านไปมามากมาย และเยี่ยมชมโครงการโรงไฟฟ้าลำตะคองแบบสูบกลับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประเทศลาว


ที่ตั้ง : อยู่ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 100-108 องศาตะวันออก เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล
- ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน แนวเขตแดนยาว 505 กิโลเมตร
- ทิศใต้ ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา แนวเขตแดนยาว 435 กิโลเมตร
- ทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แนวเขตแดนยาว 2,069 กิโลเมตร
- ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย แนวเขตแดนยาว 1,810 กิโลเมตร และสหภาพพม่า แนวเขตแดนยาว 236 กม.พื้นที่ 91,429 ตารางไมล์ หรือ 236,800 ตารางกิโลเมตร ร้อยละ 90 เป็นภูเขาและที่ราบสูง
ภูมิอากาศ - ลาวมีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน มีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยที่เวียงจันทน์ 25 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 36-37 องศาเซลเซียส (เมษายน) ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,715 มิลลิเมตร ต่อปี
เส้นทางการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทำการบินเส้นทาง ไป-กลับ เชียงใหม่-หลวงพระบาง ด้วยเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 โดยทำการบิน ไป-กลับ สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ในทุกวันจันทร์ พฤหัสบดีและเสาร์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2546 เป็นต้นไป ด้วยเที่ยวไป เที่ยวบินที่ ทีจี 688 - ออกเดินทางจากเชียงใหม่ เวลา 10.40 น. ถึงหลวงพระบาง เวลา 11.00 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ ทีจี 689 - ออกเดินทางจากหลวงพระบางเวลา 12.20 น. ถึงเชียงใหม่ เวลา 13.35 น.
เวียงจันทน์อาณาเขต: ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีนทิศใต้: ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชาทิศตะวันออก: ติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามทิศตะวันตก: ติดกับประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนม่าร์ภูมิศาสตร์: ในอดีตที่ผ่านมาประเทศลาวมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมากมีเนื้อที่ถึง 480,000 ตารางกิโลเมตร แต่ต่อมาภายหลังมาเสียดินแดนบางส่วนให้กับสยามจนกระทั่งเข้าสู่ยุคปลดปล่อยจากการปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ประเทศลาวมีพื้นที่เหลือเพียง 236,800 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญถึง 13 สายด้วยกันตั้งแต่ น้ำคาน น้ำงึม น้ำซับ น้ำแบง ฯลฯ แม่น้ำที่สำคัญที่สุดของลาวและเป็นแม่น้ำนานาชาติ คือ แม่น้ำโขง หรือที่คนลาวเรียกกันว่า แม่น้ำของ สำหรับเขตแดนลาวมีความยาวทั้งสิ้น 4,500 กิโลเมตร ชายแดนที่ติดกับประเทศไทยมีความยาว 1,730 กิโลเมตร ส่วนใหญ่แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งสองประเทศ มีความยาวทั้งสิ้น 1,400 กิโลเมตร เทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศอยู่ในแขวงเชียงขวาง “ภูเบี้ย”มีความสูงประมาณ 2,820เมตร การเมืองการปกครอง:สปป.ลาวปกครองระบอบสังคม นิยม มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีประธานพรรคเป็นประมุขของประเทศเรียกว่า ประธานประเทศ ส่วนนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร ทั้ง 2ตำแหน่งได้รับแต่งตั้งจากสภาแห่งชาติ ทำหน้าที่นิติบัญญัติ และเป็นผู้ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ แบ่งการปกครองออกเป็น 18 แขวง (จังหวัด)
1. นครเวียงจันทน์ (กำแพงนครเวียงจันทน์) เป็นเขตการปกครองพิเศษคล้าย กรุงเทพฯ
2. แขวงเวียงจันทน์ เมืองหลวง คือ เวียงจันทน์
3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวง คือ หลวงพระบาง
4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวง คือ หลวงน้ำทา
5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวง คือ เมืองไชย หรืออุดมไชย
6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวง คือ ห้วยทราย

7. แขวงพงสาลี เมืองหลวง คือ พงสาลี
8. แขวงหัวพัน เมืองหลวง คือ ซำเหนือ
9. แขวงเชียงขวาง เมืองหลวง คือ เชียงขวาง
10.แขวงไชยบุรี เมืองหลวง คือ ไชยบุรี
11.แขวงบริคำชัย เมืองหลวง คือ ปากชัน
12.แขวงคำม่วน เมืองหลวง คือ คำม่วนหรือท่าแขก
13.แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวง คือ สะหวันนะเขต
14.แขวงสาละวัน เมืองหลวง คือ สาละวัน
15.แขวงเซกอง เมืองหลวง คือ เซกอง
16.แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวง คือ ปากเซ
17.แขวงอัตปือ เมืองหลวง คือ อัตปือ
18.แขวงไชยสมบูรณ์ เป็นเขตการปกครองพิเศษศาสนา: ประชาชนลาวมากกว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเหมือนกับประชาชนชาวไทยและถือปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนอย่างเคร่งครัดอีกร้อยละ 10 นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม

ดอกไม้ประจำชาติ: ดอกจำปา หรือ ที่คนไทยเรียกว่า ดอกลั่นทม เป็นต้นไม้ที่ สามารถปลูกและขึ้นได้เองตามธรรมชาติ พบเห็นได้ทั่วไป มีถิ่นกำเนิดในทวีป อเมริกากลางและอเมริกาใต้จัดอยู่ในพืชสกุล PLUMERIAวงศ์ APOCYNACEAE โดยปกติดอกจำปา จะมีสีขาว แดง แซมด้วยสีเหลืองอ่อนๆ สำหรับดอกจำปาที่มีอยู่ในประเทศลาวเป็นสายพันธ์เดียวกันกับดอกลั่นทม ของไทยที่มีดอกสีขาว เข้าใจกันว่าชาวสเปนนำมาปลูกที่ฟิลิปปินส์แล้วจึงแพร่ขยายข้ามมายังประเทศไทยและลาว

หอหลวง


หอพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง หรือเรียกย่อว่า หอหลวงฯ :ตั้งอยู่กลางเมืองทางด้านทิศตะวันตกใกล้กับริมแม่น้ำโขง อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเชิงเขาพูสี ค่าเข้าชม 20,000กีบ สำหรับชาวต่างประเทศ และ 2,000กีบ สำหรับคนเมือง(คนลาว)สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 08.30-11.00น.และ 13.00-16.00น.เนื่องจากสปป.ลาวได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส ช่วงเวลาประมาณ 11.00-13.00น.สถานที่ราชการต่างๆ รวมถึงสถานศึกษา มักเป็นช่วงเวลาพัก)ส่วนรูปภาพภายในหอหลวงไม่มีให้ชม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของหอหลวงไม่อนุญาตให้นำกล้องถ่ายภาพหรือกล้องวีดีโอเข้าไปภายใน ต้องฝากกระเป๋าถือและกล้องฯ ไว้ที่ด้านหน้าทางด้านซ้ายมือของพระราชวังหอหลวงนี้สร้างในสมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ประมาณปี พ.ศ.2447และสืบทอดมายังเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ฝีมือการออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง รูปแบบอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสผสมกับลาว ด้านนอกอาคารเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ



วัดสีสะเกด


วัดสีสะเกด สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.๑๘๑๘ ตามคำสั่งของเจ้าอนุวงศ์ รัชกาลสุดท้าย เจ้าชีวิตองค์สุดท้าย)แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ วัดสีสะเกด ซึ่งเดิมได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกว่า “สะตะสหัสสาราม”(แปลว่าวัดแสน) แต่คนทั้งหลายเรียกว่า วัดสีสะเกด วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังหลวง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และถ้าอยู่ในกำแพงโบราณเวียงจันทน์ชั้นใน (ชั้นใน) ห่างไกลจากแม่น้ำโขง ๒๕๐ เมตร วัดสีสะเกด เป็นวัดหนึ่งที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์เมื่อต้นศตวรรษที่ ๑๙ แห่งคริสตศักราชและมีวัดเดียวเท่านั้นในนครเวียงจันทน์ที่ไม่ถูกทำลายจากสงคราม เมื่อปี ค.ศ.๑๘๒๙ และโครงร่างพุทธสีมา พูดได้ว่ายังสมบูรณ์ตามแบบดั้งเดิม ส่วนที่ถูกทำลายไปบ้างจะเป็นศิลปะตกแต่ง ทรัพย์สมบัติวัดนี้ส่วนใหญ่ก็สูญเสียไปในสงคราม ปีค.ศ.๑๘๒๙ เช่นเดียวกันและในคราวต่อมาด้วย แต่ก็ยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ปางชนะมาร ประดิษฐานอยู่กลางพุทธสีมา ๑ องค์ พระพุทธรูปทองเหลือง ปางห้ามญาติ ๒ องค์ และพระพุทธรูป ๑๒๐ องค์ ตั้งวางแสดงอยู่และสิ่งที่มีค่าอื่นๆ ที่สวยสดงดงามเป็นพิเศษซึ่งยังเป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นการขยายตัวทางด้านศิลปวัฒนธรรมสกุลช่างล้านช้างเวียงจันทน์ในต้นศตวรรษที่ ๑๙ แห่งคริสตศักราช วัดสีสะเกดเป็นแหล่งรวบรวมมรดกวัฒนธรรมทางศาสนา เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๒๔ เป็นต้นมา ปัจจุบันพระพุทธสีมาวัดสะเกดเป็นคลังสะสมวัตถุโบราณต่างๆ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปะนับตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕,๑๖,๑๗,๑๘,๑๙ และที่พิเศษคือการสะสมวัตถุศิลปวัฒนธรรม สมัยต้นศตวรรษที่ ๑๙ แห่งคริสตศักราช นอกจากนี้ ยังมีหอไตร (หอสมุดทางศาสนา)สร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับวัดสีสะเกด เพื่อเก็บพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนา (พระไตรปิฎก)หรือคัมภีร์อื่นๆ ทางศาสนา หอไตรนี้แต่เดิมประดับประดาดอกดวงและติดแก้วที่สวยสดงดงาม แต่ได้สูญหายไปเกือบหมดแต่ก็ยังมีเหลือบ้างส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามของศิลปะสกุลช่าง ต้นศตวรรษที่19 หอไตรได้บูรณะปรับปรุงใหม่เมื่อปี ค.ศ.๑๙๓๐

ประตูชัย



ประตูชัย : ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์บนถนนล้านช้างไปสิ้นสุดที่บริเวณประตูชัย สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้างเพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย บันไดวันให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ บนยอดของประตูชัยอีกด้วย ตลอดบันไดวนของประตูชัยจะแบ่งออกเป็นชั้นๆ ซึ่งแต่ละชั้นจะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน
ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ 2,000 กีบ (1 บาท เท่ากับ 266 กีบ)เปิดเวลาเปิดเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หอพระแก้ว



หอพระแก้ว :"อดีตเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต"หอพระแก้ว ตั้งอยู่บนถนน เชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ แต่เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเชษฐาธิราชมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดา คือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม เมื่อปีพ.ศ.2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามบุกเข้าปล้นและช่วงชิงเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป แม้หอพระแก้ปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก้ยังเดินทางมาสักการะบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว ค่าเข้าชม คนละ 5,000กีบเปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 12.00 น., 13.00 น. - 16.00 น.

ค่าเงินประเทศลาว


เงินตราสกุลเงินของสปป.ลาว เรียกว่า “กีบ” ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ, และ 50,000 กีบ ปกติแล้วรัฐบาลห้ามใช้เงินสกุลอื่นในการซื้อขายสินค้าและบริการ แต่โดยทั่วไป บริษัทห้างร้านต่าง ๆทั้งหลาย ยินดีรับเงินเหรียญสหรัฐ และเงินบาทของไทยเรา นักท่องเที่ยวสามารถแลกเงินกีบได้ที่ธนาคาร หรือตามร้านค้าทั่วไป ในกรณีที่ท่านต้องการใช้บัตรเครดิต สามารถใช้ได้ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ทั้งในเวียงจันทน์และหลวงพระบาง

ตลาดจีน (Evening Market)

ตลาดจีน หรือ ตลาดแลง (Evening Market)อยู่ในพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ คนไทยเรียกว่า ตลาดจีน เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นตลาดและศูนย์การค้าที่ขายสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน ผู้ขายสินค้าส่วนใหญ่ก็เป็นคนจีน การสื่อภาษาใช้ภาษาจีน หรือใช้ภาษาลาวและไทยที่ออกสำเนียงจีน สินค้าที่มีจำหน่ายเป็นสินค้าที่เคยพบเห็นกันได้ตามแหล่งจำหน่ายสินค้าจากจีนตามตลาดหรือแหล่งค้าต่าง ๆ สินค้าซึ่งขายกันอยู่ที่ตลาดจีน คนที่ไปตลาดเช้าในตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ หรือเดินเที่ยวที่ตลาดท่าเสด็จในตัวเมืองจังหวัดหนองคาย ก็คงจะหาซื้อกันได้ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในครัวเรือน ของตกแต่งบ้าน ของเล่นเด็ก ของขวัญ แผ่นซีดีเพลงภาษาจีน ขนม อาหารแห้ง เครื่องเทศ และกระเป๋าเลียนแบบสินค้ายี่ห้อที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ ซึ่งจำนวนร้านค้าและบรรยากาศก็ดูจะคึกคักเป็นรองอยู่มาก คนซื้อควรกล้าที่จะต่อรองราคาด้วยจึงจะได้ของถูกทั้งใจถูกทั้งราคา



เตรียมตัวก่อนเดินทางเข้าประเทศลาว


ประเทศไทยเราสามารถเดินทางเข้า สปป.ลาวได้ที่ด่านพรมแดน 5 จังหวัด ดังนี้
1. จังหวัดเชียงราย (เชียงของ – ห้วยทราย)
2. จังหวัดหนองคาย (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว – นครหลวงเวียงจันทน์)
3. จังหวัดนครพนม – ท่าแขก
4. จังหวัดมุกดาหาร – สะหวันนะเขต
5. จังหวัดอุบลราชธานี (ด่านช่องเม็ก – วังเต่า)บุคคลที่ถือสัญชาติไทย สามารถเดินทางไป สปป.ลาวได้

1. หนังสือเดินทาง(Passport) สามารถเดินทางเข้า- ออก สปป.ลาวได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า และอยู่ในสปป.ลาว ได้ 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2547 เป็นต้นมา
2.บัตรผ่านแดนชั่วคราว(Temporary Border pass) สามารถเดินทางเข้าสปป.ลาว เฉพาะในเขตนครหลวงเวียงจันทน์เท่านั้น และ อยู่ได้ครั้งละ 3 วัน 2 คืน เอกสารที่ใช้ทำบัตรผ่านแดน- สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ใบ- เด็ก ใช้สำเนาสูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน- รูปถ่ายขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ การนำรถยนต์เข้าไป สปป.ลาวตั้งแต่ 1 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป สามารถนำรถยนต์ข้ามพรมแดนไปยัง สปป.ลาวได้ โดยต้องมีเอกสารที่ใช้ในการเดินทางดังนี้
1.หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (เล่มสีม่วง) และเครื่องหมายแสดงประเทศ (T)
2.กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่สาม (ของ สปป.ลาว) มีจำหน่าย ณ จุดชาย
3.ใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (สำหรับผู้ขับรถ) ขั้นตอนการนำรถยนต์เข้าไปใน สปป.ลาว ขอหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (เล่มสีม่วง) ต้องเตรียมหลักฐานต่อไปนี้
- สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียน หรือใบคู่มือการจดทะเบียนรถที่ไม่ค้างชำระภาษีประจำปี - สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตัวเอง) *** สามารถยื่นขอหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและขอรับการแปลใบอนุญาตขับรถเป็นภาษาอังกฤษ ได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองคาย ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย โทร. 0-4242-1473

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ซื้อของฝากกลับบ้าน

จ.ของแก่น มีของฝากให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อหลากหลาย ทั้งงานฝีมือ หัตถกรรม และของกินแปรรูปทั้งคาวและหวาน ซึ่งมีของฝากที่โดดเด่นให้เลือกซื้อ เช่น

* ย่านตัวเมือง ใกล้โรงแรมโรมาและร้านอาหารเช้าเอมโอช มีของฝากประเภทกุนเขียง หมูยอ ไส้กรอก ซึ่งเปิดขายมานานมาก
* อ.เขาสวนกวาง ริม ถ.มิตรภาพเป็นย่านขายไก่ย่างเขาสวนกวาง หรือไก่ปิ้ง อันขึ้นชื่อของ จ.ขอนแก่น

อ.ชนบท เป็นแหล่งผ้าไหมขนาดใหญ่ มีร้านผ้าไหมมากกว่า 60 ร้าน





วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กู่เปือยน้อย

ชมงานแกะสลักหินทรายศิลปะลพบุรี

-มีงานบุญกู่เปือยน้อย วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 บริเวณประสาทกู่เปือยน้อย
กู่เปือยน้อยหรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า"พระธาตุกู่ทอง" เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู นับเป็นปราสาทหินโบราณขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีลายสลักหินทรายประดับส่วนต่างๆ ของปราสาทซึ่งมีความปราณีตด้วยฝีมือช่างชั้นสูง ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะไม่ควรพลาดชม


สถานที่ตั้ง : บ้านหัวขัว ต.เปือย อ.เปือยน้อย

ชุมชนผ้าไหม อ.ชนบท

ชมศูนย์กลางผ้าไหมของประเทศไทย
"เมืองชล" ของคนขอนแก่นหมายถึง "อ.ชลบถ" ซึ่งหมายถึงถิ่นที่มีน้ำมากหรือน้ำผ่าน อันเป็นชื่อเดิมของ อ.ชนบทในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศูนยรวมผ้าไหมของประเทศไทย โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ซึ่งมีชื่อเสียงมาก ย่านตลาดของตัวอำเภอมี "ถนนสายไหม"มีร้านจำหน่ายผ้าไหมเรียงรายมากกว่า 60 ร้าน ซึ่งส่งขายทั่วประเทศ สามารถสร้างรายได้อย่างมากให้กับชาวชนบท
ที่ตั้ง :อ.ชนบท อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปตามทางหลวง

ภูตาดฟ้า-ภูผาม่าน

เที่ยวน้ำตก ชมทิวทัศน์ภูผาม่าน



-มีน้ำเฉพาะช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว
-ควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำทางและใช้รถยนต์ที่แข็งแกร่ง เนื่องจากเส้นทางกันดานและซับซ้อน -ติดต่อที่ ตู้ ปณ.4 อ.ภูกระดึง จ.เลย 41280 โทร.0-4324-9050

ยอดของภูตาดฟ้าอยู่ในเขต อช.ภูผาม่าน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 ม. มีน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามตามลำน้ำห้วยตาดฟ้าสองจุด มีจุดชมทิวทัศน์เทือกเขาหินปูนรูปทรงสวยงามของภูผาม่าน หากมาพักแรมในช่วงฤดูหนาว ต้องเตรียมชุดกันหนาวมาด้วย เพราะอากาศหนาวจัด
ที่ตั้ง : ในเขต อช.ภูผาม่าน อ.ภูผา


พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

ชมหุ่นจำลองไดโนเสาร์เหมือนจริง
-เปิดเวลา 0900-1700 น.หยุดวันพุธ
-มีร้านเครื่องดื่มและห้องน้ำ
-ติดต่อที่กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี โทร.0-2202-3754
-เข้าชมเป็นหมู่คณะ ทำหนังสือถึงอธิบดีทรัพยากรธรณี ถ.พระราม 6 กรุงเทพฯ
-ติดต่อพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ อช.ภูเวียง ต.ในเมือง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
โทร.0-4343-8204-6 เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ทันสมัยขนาดใหญ่ พื้นที่รวม 5,500 ตร.ม.จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับไดโนเสาร์ มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ที่พบในไทยขนาดเท่าจริง จัดแสดงในบรรยากาศที่สมจริง
รวมทั้งฟอสซิลและประติมากรรมโครงกระดูกไดโนเสาร์ นอกจากนั้นยังมีนิทรรศการทางธรณีวิทยาจัดแสดงไว้อย่างน่าสนใจและทันสมัย

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เขื่อนอุบลรัตน์



ชมเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของภาคอีสาน
-ประตูเข้าเขื่อนเปิด 0600-1800 น.
-มีบ้านพักและห้องพัก
-ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์เขื่อนอุบลรัตน์ โทร.0-4344-6152,0-4344-6231
เขื่อนอุบลรัตน์ เดิมชื่อ เขื่อนพองหนีบ สร้างกั้นแม่น้ำพองที่ อ.อุบลรัตน์ ระหว่างเทือกเขาภูพานคำและเทือกเขาภูพานน้อย เขื่อนอุบลรัตน์เป็นเขื่อนแห่งแรกของภาคอีสาน และแห่งที่สองของประเทศไทยต่อจากเขื่อภูมิพล จ.ตาก นอกจากจะเที่ยวชมเขื่อนแล้วทั่วบริเวณยังร่มรื่นสวยงาม มีบริการทั้งร้านอาหาร เรือร่องชมอ่างเก็บน้ำสนามกอล์ฟและที่พักจำนวนมาก
สถานที่ตั้ง:ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

จ.ขอนแก่น

จ.ขอนแก่น ตั้งอยู่บริเวณใจกลางภาคอีสาน มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดในภาคอีสานเหนือและอีสานใต้ถึงเก้าจังหวัด ด้วยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทางบกและทางอากาศ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา โดยมี ม.ขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาค ประกอบกับความเจริญรุ่งเรืองในอีกหลายๆ ด้านอีสาน อีสานหรือ"ขอนแก่น "จึงเปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคอีสานนั่นเอง"

คำขวัญ:พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวม ผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ ่ไดโนเสาร์ลือก้องเหรียญทองมวยโอลิมปิค

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง


ชมภูมิทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
-เปิดเวลา 08.00-16.30น.
-มีที่กางเตนท์ริมอ่างเก็บน้ำ
-ติดต่อที่ อช.น้ำพอง ตู้ ปณ.13(ดอนโมง)อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 40240


อช.น้ำพองอยู่ ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 197 ตร.กม.หรือ 123,125 ไร่ เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับ อช.ภูเก้า-ภูพานคำ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใต้ของเทือกเขาภูพานคำ จ.ขอนแก่น และเทือกเขาภูผาดำ จ.ชัยภูมิ พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯเป็นป่าเต็งรังสลับป่าเบ็ญจพรรณ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำชีและแม่น้ำพอง
อช.น้ำพอง อยู่ห่างไกลจากชุมชน ไม่มีร้านค้า,ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ประกอบอาหาร เต็นท์ เครื่องนอน และเครื่องกันหนาวในช่วงฤดูหนาวให้พร้อม
สถานที่ตั้ง: ที่ทำการตั้งอยู่ที่ ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ

พระธาตุขามแก่น

ชมปูชนียสถานคู่เมืองขอนแก่น
มีงานบวงสรวงองค์พระธาตุฯ วันที่ 13 เม.ย.
เป็นพระธาตุสำคัญองค์หนึ่งของอีสาน มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและเป็นที่มาของชื่อเมืองขอนแก่นซึ่งนอกจากจะเป็นปูชนียสถานคู่เมืองขอนแก่นมาแต่โบราณแล้ว องค์พระธาตุขามแก่นยังเป็นเจดีย์ที่มีรูปทรงสวยงามมาก สูงประมาณ 10ม.มีฐานเป็นรูปบังคว่ำ ผังสี่เหลี่ยมสอบขึ้นก้านบน ปลายยอดเป็นฉัตรทอง องค์เรือนธาตุเป็นรูปดอกบัวตูม ย่อมุมไม้สิบสอง
สถานที่ตั้ง:อยู่ในวัดเจติยภูมิ ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง

หอศิลปวัฒนธรรม ม.ขอนแก่น


ชมพิพิธภัณฑ์การศึกษาของภาคอีสาน
-เปิดเวลา 08.30-16.30น. หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

-มีร้านจำหน่ายงานศิลปะ -โทร.0-4333-2035
อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ประยุกต์แนวคิดในการออกแบบมาจากรูปทรงของ "เล้าข้าว"หรือ เรือนเก็บข้าวของชาวอีสาน ภายในแบ่งการจัดแสดงแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ นิทรรศการหมุนเวียนและนิทรรศการถาวร ในปี พ.ศ.2535 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมขึ้น และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 11 ก.ย.2541
สถานที่ตั้งและการเดินทาง :ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ.มะลิวัลย์ อ.เมือง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

ชมโบราณวัตถุล้ำค่าของภาคอีสานตอนบน
-เปิดเวลา 0900-1600น.
-ค่าเข้าชม คนไทย 10บาท ชาวต่างชาติ 30บาท
-โทร.0-4324-6170
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีโบราณวัตถุล้ำค่าของภาคอีสานตอนบนหลายสมัย เช่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี หรือข้าวของเครื่องใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ฯลฯ ทั้งหมดจัดแสดงโดยแบ่งออกเป็นยุคสมัยต่างๆ อย่างเป็นระบบ ในอาคารทรงไทยประยุกต์สองชั้น ซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารจัดแสดงใบเสมากลางแจ้งและอาคารชั้นเดียวด้านหลัง
สถานที่ตั้ง :อยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ถ.หลังศูนย์ราชการ อ.เมืองขอนแก่น


วัดบ้านไร่(วัดหลวงพ่อคูณ)

นมัสการหลวงพ่อคูณ
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป การเข้านมัสการจะเป็นวันละสองครั้ง 10.00-11.00 น.,และ 14.00-17.00 น.
ที่ตั้ง:ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด

ด่านเกวียน

ชุมชนช่างปั้นลุ่มแม่น้ำมูล
เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีชื่อเสียงลือเลื่องไปทั่วประเทศ มีรูปแบบที่ทันสมัยและมีเอกลักษณ์สวยงาม ปัจจุบันมีชาวด่านเกวียนได้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตในครัวเรือนคราวละจำนวนน้อย สู่ระบบการผลิตคราวละจำนวนมาก โดยช่างปั้นเป็นชาวด่านเกวียน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมการทำเครื่องปั้นดินเผาภายในบริเวณร้าน
ที่ตั้งและการเดินทาง : ริม ถ.โคราช-โชคชัย บ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย ห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 15 กม.

ถนนสายมิตรภาพ

ที่เรียกกันว่า "ถนนสายมิตรภาพ" เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นผู้ให้เงินสนับสนุนในการสร้างช่วงสงครามเวียดนาม ถนนสายนี้สร้างผ่านกลางพื้นที่ป่าดงพญาเย็น ส่งผลให้ป่าผืนนี้ถูกแผ้วถางไปหมดสิ้น ถ.สายมิตรภาพ ใช้งานในปี พ.ศ.2501 นับเป็นถนนที่เรียบและกว้างขวางในยุคนั้น จนเล่าลือกันว่าอเมริกาจะใช้เป็นที่ลงจอดเครื่องบินรบในช่วงสงคราม ในสมัยพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปรับปรุงขยาย ถ.มิตรภาพให้เป็นถนนสี่เลน

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง

กินอาหารพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์ริมอ่างเก็บน้ำ


ลำตะคองเป็นสายน้ำสำคัญอีกสายหนึ่งของโคราช ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เมื่อมีการสร้างเขื่อนลำตะคอง จึงเกิดพื้นที่น้ำท่วมถาวรกว้างใหญ่กลายเป็นทิวทัศน์สวยงามที่มีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่นิยมมาพักผ่อนชมวิว ซึ่งเขื่อนลำตะคองจะเลียบไปกับทางหลวง
ที่ตั้งและการเดินทาง :ริม ถ.มิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข -) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว ก่อนถึงตัวเมืองโคราชประมาณ 62 กม.

อช.เขาใหญ่

ท่องป่า เล่นน้ำตก ชมทิวทัศน์



-ด่านตรวจ ชญ.1 เปิดเวลา 0600 - 2100 น.
-ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถยนต์ 50 บาท
-มีบ้านพักโรงนอน ที่กางเต้นท์ที่ผากล้วยไม้-มีร้านอาหารบริเวณที่ทำการฯ และตามน้ำตกต่างๆ
-มีรถส่องสัตว์ตอนกลางคืนบริการ 300บาท/คัน (นั่งได้ประมา 10 คน)-อช.เขาใหญ่ ตู้ ปณ.9 ปท. ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทร.0-3731-9002