วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เมืองจำปาศักดิ์

แขวง จำปาศักดิ์ เมืองแห่งมรดกโลก
เมืองจำปาศักดิ์ มีวัดโบราณ น้ำตกแสนสวย หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย และ ภูมิทัศน์อันสวยสดงดงามที่สุดของภาคใต้ของลาว ทางภาคใต้มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย และ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกันนัก ผู้มาเยือนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม และ เป็นเมืองแห่งมรดกโลก

พระธาตุหลวง


สัญลักษณ์ของประเทศลาวถือว่าเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว และ สัญลักษณ์ประจำชาติของลาว มีความหมายของประชาชนชาวลาวเป็นอย่างมาก

ตลาดม้ง


เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยาว์

วังเวียง หรือ กุ้ยหลิน แห่งเมืองลาว


เป็นเมืองเล็กๆที่เงียบสงบอยู่ทางตอนเหนือของนครเวียงจันทน์ ที่มีความสวยงาม และมนต์เสน่ห์ที่ยากจะหาชมได้ในปัจจุบันด้วยความเงียบสงบ และ บรรยากาศ แบบ สบายๆ ที่นักท่องเที่ยวทุกมุนโลก ต่างนิยมมาท่องเที่ยวเมืองวังเวียงแห่งนี้ หรือ เปรียบได้ว่า เป็น ถนน ข้าวสาร ของเมืองลาว

หอพระแก้ว


เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงค์ลาว เพื่อใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม



ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า "วัดใหม่" เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชลาวมาก่อน

วัดวิชุนราช


ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให้วัดวิชุน ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เองที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดดเด่น

พระราชวังหลวงพระบาง


ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส

วัดแสนสุขาราม


พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ องค์เดียวในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์

วัดเชียงทอง


เป็นวัดที่สำคัญและสวยงามได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว

บ้านเจ๊ก

ประกอบด้วยอาคารรูปทรงแปลกตาที่เรียงรายอยู่สองฟากถนนยาวประมาณ 300 เมตร ระหว่างพระราชวังเก่าไปถึงสี่แยกบ้านป่าไผ่ แต่เดิมเป็นที่อยู่ของชาวจีนซึ่งถือเป็นย่านศูนย์กลางการค้า คล้ายกับถนนเยาวราชของไทย จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันคนจีนได้ย้ายออกไปและกลายเป็นที่อยู่ของคนลาวแทน บริเวณบ้านเจ๊กนี้นอกจากตอนเช้าจะเป็นสถานที่ดักรอตักบาตรที่ดีที่สุดแล้ว ยามเย็นที่แสงแดดตกกระทบผนังปูนและหลังคากระเบื้องดินเผาทำให้อาคารโบราณแถบนี้มีความสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง สำหรับนักท่องเที่ยวในแถบนี้คล้ายกับตรอกข้าวสารของไทย เรียกกันว่าตรอกข้าวเหนียว มีร้านขายของที่ระลึกมากมาย รวมทั้งร้านเครื่องดื่มบริการหลายร้านในยามค่ำคืน

ชุมชนบ้านช่างไห



ชุมชนริมแม่น้ำโขงที่มีอาชีพหลักในการต้มเหล้า ว่ากันว่าเหล้าขาวของที่นี่รสชาติดีมก แทบทุกครัวเรือนจึงมีอาชีพในการต้มเหล้า แต่เดิมเป็นเพียงการต้มขายภายในเขตหมู่บ้าน แต่เมื่อชื่อเสียงในด้านรสชาติกระจายออกไป จึงกลายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนไปโดยปริยาย นอกจากการต้มเหล้าแล้วที่นี่ยังมีผ้าทอ เครื่องเงิน และของที่ระลึกจำหน่ายด้วย

ชุมชนบ้านผานม

เป็นชุมชนไทลื้อที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านเล่าว่า เจ้ามหาชีวิตแห่งล้านนา ได้สู่ขอเจ้านางผมหอมธิดาของกษัตริย์เมืองเชียงรุ้ง (สิบสองปันนา)มาเป็นพระชายา มีบริวารบ่าวไพร่ติดตามรับเป็นใช้ข้าราชการในราชสำนักสืบต่อกันมา 10 ชั่วอายุคน จนมีจำนวนคนเพิ่มมากขึ้น เจ้ามหาชีวิตจึงมีรับสั่งให้ออกมาตั้งบ้านเรือนนอกราชวัง แห่งแรกอยู่ที่บ้านนาเวียงคำ และบ้านนาอ้อมดอย บริเวณเชิงเขาภูว่าวนอกเมืองหลวงพระบาง และต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่บ้านผานมแห่งนี้ ปัจจุบันมีประชากรราว 200หลังคาเรือน หญิงชาวไทลื้อที่นี่เคยทอผ้าถวายเจ้ามหาชีวิตมาก่อน ทำให้ผ้าทอบ้านผานมมีชื่อเสียงในเรื่องความปราณีตและสวยงามมาก จึงมีการตั้งศูนย์หัตถกรรมสินค้า รวมทั้งมีการสาธิตการทอผ้าด้วย ทั้งแบบย่าม กระเป๋า เสื้อแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการเดินชมวิถีชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านด้วย

บ้านซ่างฆ้อง

เด่นในเรื่องหัตถกรรมกระดาษสา นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้ชมขั้นตอนการผลิตกระดาษสา รวมไปถึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาด้วย บ้านซ่างฆ้องอยู่ห่างจากตัวเมืองหลวงพระบางไปประมาณ 4 กิโลเมตร

ภูสี

ยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง เมื่อขึ้นไปบนยอดสามารถมองเห็นเมืองหลวงพระบางได้โดยรอบ ตลอดสองข้างทางร่มรื่นไปด้วยต้นจำปา หรือลั่นทม เชื่อกันว่าแต่เดิมบริเวณนี้เป็นเขตป่าศักดิ์สิทธิ์ ต่อมามีฤาษีขึ้นไปอาศัยอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่าภูฤาษี หรือภูสีมาจนถึงปัจจุบัน นักโบราณคดีบางคนเชื่อว่า ภูสีอาจหมายถึงภูศรี มาจากคำว่าศรีซึ่งเป็นศรีของเมืองหลวงพระบาง ด้านบนเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมสี ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร

ถ้ำติ่ง

เป็นถ้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งฝั่งตรงข้ามบ้านปากอู ในภูเขาลูกใหญ่ที่ตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำโขง ช่วงที่แม่น้ำอูไหลลงสู่แม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียกกันว่า ผาแอ่น ถ้ำติ่งประกอบด้วยถ้ำ 2 แห่ง ได้แก่ ถ้ำติ่งเทิง (ถ้ำติ่งบน)และถ้ำติ่งลุ่ม (ถ้ำติ่งล่าง) ในสมัยโบราณใช้เป็นที่สักการะบวงสรวงดวงวิญญาณผีฟ้า ผีแถน เทวดาผาติ่ง แต่เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาแทนที่ถ้ำติ่งจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา ของผู้แก่เฒ่าบอกว่า เจ้ามหาชีวิตแห่งหลวงพระบางต้องไปสักการะพระพุทธรูปในถ้ำ เป็นประเพณีที่ขาดไม่ได้โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่ หลังเสร็จงานบุญที่หลวงพระบางแล้วประมาณ 2-3 วัน พระองค์จะนำข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ พระสงฆ์ และประชาชนขึ้นไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่ถ้ำติ่งบนก่อน จึงลงมาทำพิธีที่ถ้ำติ่งล่าง ภายในถ้ำมีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 และ 19 จำนวนหลายพันองค์ และมีบางส่วนที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 และ20 ส่วนใหญ่ทำจากไม้ บางส่วนทำจากหินและโลหะ นอกจากนี้ยังมีการพบพระพุทธรูปที่ทำจากเงินและทองคำบุ แต่ถูกลอกเอาเงินและทองคำออกไปหมด เหลือไว้แต่ดินเผาที่เป็นแกนกลาง

น้ำตกกวางสี

เป็นน้ำตกหินปูนสูงราว 70 เมตร มี 2ชั้น บางช่วงมีสายน้ำไหลตามผาคล้ายกับม่าน เนื่องจากเป็นน้ำตกหินปูนจึงทำให้น้ำของน้ำตกแห่งนี้ใสและมีสีเขียวมรกต อยู่ห่างจากตัวเมืองหลวงพระบางประมาณ 30 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่านหมู่บ้านลาวสูง (ม้ง) หลายแห่ง จากปากทางต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร โดยมีสะพานไม้และเส้นทางเดินชมรอบ ๆ น้ำตก ท่ามกลางสภาพป่าอันร่มรื่น

พระราชวังหลวงพระบาง


สร้างขึ้นปี ค.ศ.1904 ก่อนเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ขึ้นครองราชสมบัติ 1 ปี ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงแบบฝรั่งเศส แต่มีการผสมผสานระหว่างความเป็นฝรั่งเศสและลาว หลังคายอดปราสาทเป็นศิลปะลาวล้านช้าง ที่นี่จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นลักษณะของ ฝรั่งสวมชฎา เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วย ห้องฟังธรรม จัดแสดงธรรมาสน์ไม้แกะสลักสกุลช่างหลวงพระบาง และพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างลาวโบราณ ช่วงศตวรรษที่ 17-19ห้องที่สองด้านขวามือเป็นห้องพิธีหรือห้องรับแขก มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาวโดยช่างฝีมือชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1930 ห้องที่สามเป็น ท้องพระโรง ประดับกระจกหลากสีบนพื้นสีทอง เป็นห้องที่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมไว้เพื่อทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงราชบัลลังก์ไม้แกะสลักหุ้มทองและเครื่องสูงทั้ง 5 ได้แก่ แส้, จามร, รองพระบาท, กระบี่หรือพระขรรค์ และพระแสงของ้าว ส่วนมหามงกุฏได้รับการเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยไม่ได้นำมาแสดงไว้รวมกัน ส่วนด้านหลังเป็น ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต เครื่องใช้ไม้สอยเป็นแบบฝรั่งดูเรียบง่ายไม่หรูหรา เตียงพระบรรทมเป็นไม้สักฝีมือช่างไทยในสยามในสมัยนั้น

อาหารการกินชาวหลวงพระบาง

พื้นฐานการกินของชาวหลวงพระบางประกอบด้วย ข้าวเหนียว ผักจิ้มน้ำพริก และอาหารพื้นเมือง เช่น ไคแผ่น, ไส้อั่ว และหมก แต่หลังจากต้องอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทำให้วัฒนธรรมการกินของชาวหลวงพระบางโดยเฉพาะชนชั้นปกครองเปลี่ยนไปเป็นแบบตะวันตกอย่าง สลัด หรือ ขนมปัง แทน แต่ต่อมาขนมปังหรือที่คนลาวเรียกว่า ข้าวจี่ปาเต ก็กลายเป็นอาหารมื้อเช้าของชาวลาว โดยมีการดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมการกินด้วยการใส่ไส้และเครื่องเคียงพื้นเมืองการกินของชาวลาวยังได้รับอิทธิพลมาจากการนำคนเวียตนามที่อยู่ใต้อาณัติของฝรั่งเศสมาช่วยปกครอง ก๋วยเตี๋ยวญวนหรือเฝอ จึงกลายเป็นอาหารยอดนิยมของชาวลาวอีกอย่าง แต่ที่พลาดไม่ได้ก็คือ สลัดหลวงพระบาง หรือสลัดผักน้ำ ซึ่งเรียกตามส่วนประกอบสำคัญอย่างผักน้ำ (WATERCRESS) เป็นผักที่มีเฉพาะที่หลวงพระบางเท่านั้น ใบผักจะมีลักษณะเล็ก ๆ สีเขียว ลำต้นยาว รสชาติคล้ายมินท์ กรอบ อร่อย นอกจากนี้ยังมี แจ่วบอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับน้ำพริกเผาของไทย ทำมาจากปลาร้า แต่จะต่างกันตรงที่ของลาวจะใส่หนังควายแห้งผสมลงไปด้วย รับประทานกับไคแผ่น ทำจากสาหร่ายน้ำจืดเวลาจะรับประทานต้องนำไปทอดไฟอ่อน ๆ จิ้มกับแจ่วบอง บรรจุเป็นถุงขายขนาดครึ่งกิโลกรัมและหนึ่งกิโลกรัม หาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป คนไทยนิยมซื้อกลับไปเป็นของฝากมากที่สุด

วัดเชียงทอง

เป็นวัดที่สำคัญ สวยงาม และเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมากที่สุด นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว สร้างขึ้นโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ไม่นานนัก ผนังด้านหลังของพระอุโบสถ ทำจากกระจกสีตัดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เคยมีอยู่ในหลวงพระบาง คล้ายกับต้นโพธิ์ ด้านข้างเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี จุดเด่นที่น่าสนใจอีกจุดของวัดเชียงทองอยู่ที่โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถ ประตูด้านนอกแกะสลักเรื่องราวของรามเกียรติ์ โดยช่างแกะสลักชื่อ เพียตัน ช่างฝีมือดีประจำองค์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา

หลวงพระบาง

อดีตเมืองหลวงเก่าแก่ของลาว เมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่โอบล้อม อุดมไปด้วยวัดวาอารามเก่าแก่ บ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในแบบโคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคานที่ไหลมาบรรจบกันเกิดเป็นแหลมกลางเมือง ซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับ ภูสี ภูเขาขนาดย่อมที่มี พระธาตุจอมสี ประดิษฐานอยู่บนยอด ซึ่งคงอยู่มานานหลายร้อยปี
องค์การยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้หลวงพระบางเป็น เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีลมหายใจ เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่นี่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นตัวของตัวเองในแบบอาณาจักรล้านช้างเมื่อครั้งอดีต ทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมการกิน ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะความบริสุทธ์ของชาวหลวงพระบาง ที่ยิ้มแย้มแจ่มใสและมีมิตรภาพเหมือนเมื่อครั้งอดีต ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ดึงดูดที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ต่างพยายามหาโอกาสมาเยี่ยมเยือนเมืองแห่งนี้

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ถนนในเมืองเวียงจันทน์

เมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองเล็กๆเที่ยววันเดียวก็หมด และสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณใกล้ๆกัน ถนนสายหลักในเมืองเวียงจันทน์มีอยู่ไม่กี่สาย แต่ที่เป็นย่านท่องเที่ยวสำคัญๆ คือ ถนนล้านช้าง ถนนสามเสนไทย ถนนเชษฐาธิราช เป็นถนนที่สวยงามมากเพราะมีไม้มะฮอกกานีใหญ่ที่มีอายุเป็นร้อยๆปีอยู่สองฝั่งฟากถนน ในตอนเช้าจะมีชาวบ้านออกมาตักบาตรข้าวเหนียวกันเป็นจำนวนมาก

เมืองเวียงจันทน์

เมืองหลวงเวียงจันทน์เหมือนกับอดีตของไทยเมื่อประมาณ 30ปีที่แล้ว การเดินทางเดินทางได้สะดวกขึ้นเมื่อสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เปิดใช้บริการ ปัจจุบันใช้บัตรผ่านชั่วคราวเพียงใบเดียวก็สามารถข้ามไปอยู่ที่เวียงจันทน์ได้ 2 คืน 3 วัน หากมีพาสปอร์ตก็สามารถข้ามไปได้เป็นเดือน

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การขับรถข้ามฝั่งลาว


สิ่งที่ต้องเตรียมไป
1.ทะเบียนรถพร้อมสำเนา
2.ใบขับขี่พร้อมสำเนา
3.สำเนาบัตรประชาชน ยื่นขออนุญาติที่สำนักงานคมนาคมกำแพงนครเวียงจันทน์ในตัวเมืองเวียงจันทน์ และต้องมีคนลาวเป็นผู้ยื่นขอ โดยแจ้งสถานที่ที่จะไปและระยะเวลาที่อยู่ในลาวให้ชัดเจน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าภาษีใช้รถยนต์ในลาว 200 บาท / 7 วัน
2.ค่าประกันภัย ประมาณ 400 บาท
3.ค่าธรรมเนียมนำรถยนต์ออกนอกประเทศไทย 40 บาท
4.ผู้โดยสารคนละ 5 บาท (การขับรถในลาวต้องขับชิดขวาเสมอ)

การอยู่ในลาวมากกว่า 3 วัน

ต้องยื่นพาสปอร์ตที่สถานฑูตลาวประจำประเทศไทย ใช้เวลาดำเนินการ 2 วัน ค่าธรรมเนียมคนละ 300 บาท

ค่าผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว


1.ค่าธรรมเนียมด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว วันธรรมดา 50 บาท วันเสาร์-อาทิตย์ 70 บาท
2.ค่ารถโดยสารข้ามสะพาน 10 บาท

การเตรียมเอกสาร

1.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3.กรณีมีบุตรต้องมีสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน
4.ค่าธรรมเนียมคนละ 30 บาท ค่าเขียนคำร้องคนละ 10 บาท

การขอหนังสือผ่านแดนชั่วคราว

มีอายุการใช้งานได้ 7 วัน
ติดต่อได้ที่ว่าการอำเภอ เปิดบริการทุกวันเวลา 0700-1800 ใช้เวลาดำเนินการ 15 นาที