วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

จ.ขอนแก่น

จ.ขอนแก่น ตั้งอยู่บริเวณใจกลางภาคอีสาน มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดในภาคอีสานเหนือและอีสานใต้ถึงเก้าจังหวัด ด้วยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทางบกและทางอากาศ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา โดยมี ม.ขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาค ประกอบกับความเจริญรุ่งเรืองในอีกหลายๆ ด้านอีสาน อีสานหรือ"ขอนแก่น "จึงเปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคอีสานนั่นเอง"

คำขวัญ:พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวม ผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ ่ไดโนเสาร์ลือก้องเหรียญทองมวยโอลิมปิค

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง


ชมภูมิทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
-เปิดเวลา 08.00-16.30น.
-มีที่กางเตนท์ริมอ่างเก็บน้ำ
-ติดต่อที่ อช.น้ำพอง ตู้ ปณ.13(ดอนโมง)อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 40240


อช.น้ำพองอยู่ ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 197 ตร.กม.หรือ 123,125 ไร่ เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับ อช.ภูเก้า-ภูพานคำ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใต้ของเทือกเขาภูพานคำ จ.ขอนแก่น และเทือกเขาภูผาดำ จ.ชัยภูมิ พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯเป็นป่าเต็งรังสลับป่าเบ็ญจพรรณ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำชีและแม่น้ำพอง
อช.น้ำพอง อยู่ห่างไกลจากชุมชน ไม่มีร้านค้า,ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ประกอบอาหาร เต็นท์ เครื่องนอน และเครื่องกันหนาวในช่วงฤดูหนาวให้พร้อม
สถานที่ตั้ง: ที่ทำการตั้งอยู่ที่ ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ

พระธาตุขามแก่น

ชมปูชนียสถานคู่เมืองขอนแก่น
มีงานบวงสรวงองค์พระธาตุฯ วันที่ 13 เม.ย.
เป็นพระธาตุสำคัญองค์หนึ่งของอีสาน มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและเป็นที่มาของชื่อเมืองขอนแก่นซึ่งนอกจากจะเป็นปูชนียสถานคู่เมืองขอนแก่นมาแต่โบราณแล้ว องค์พระธาตุขามแก่นยังเป็นเจดีย์ที่มีรูปทรงสวยงามมาก สูงประมาณ 10ม.มีฐานเป็นรูปบังคว่ำ ผังสี่เหลี่ยมสอบขึ้นก้านบน ปลายยอดเป็นฉัตรทอง องค์เรือนธาตุเป็นรูปดอกบัวตูม ย่อมุมไม้สิบสอง
สถานที่ตั้ง:อยู่ในวัดเจติยภูมิ ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง

หอศิลปวัฒนธรรม ม.ขอนแก่น


ชมพิพิธภัณฑ์การศึกษาของภาคอีสาน
-เปิดเวลา 08.30-16.30น. หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

-มีร้านจำหน่ายงานศิลปะ -โทร.0-4333-2035
อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ประยุกต์แนวคิดในการออกแบบมาจากรูปทรงของ "เล้าข้าว"หรือ เรือนเก็บข้าวของชาวอีสาน ภายในแบ่งการจัดแสดงแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ นิทรรศการหมุนเวียนและนิทรรศการถาวร ในปี พ.ศ.2535 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมขึ้น และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 11 ก.ย.2541
สถานที่ตั้งและการเดินทาง :ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ.มะลิวัลย์ อ.เมือง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

ชมโบราณวัตถุล้ำค่าของภาคอีสานตอนบน
-เปิดเวลา 0900-1600น.
-ค่าเข้าชม คนไทย 10บาท ชาวต่างชาติ 30บาท
-โทร.0-4324-6170
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีโบราณวัตถุล้ำค่าของภาคอีสานตอนบนหลายสมัย เช่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี หรือข้าวของเครื่องใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ฯลฯ ทั้งหมดจัดแสดงโดยแบ่งออกเป็นยุคสมัยต่างๆ อย่างเป็นระบบ ในอาคารทรงไทยประยุกต์สองชั้น ซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารจัดแสดงใบเสมากลางแจ้งและอาคารชั้นเดียวด้านหลัง
สถานที่ตั้ง :อยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ถ.หลังศูนย์ราชการ อ.เมืองขอนแก่น


วัดบ้านไร่(วัดหลวงพ่อคูณ)

นมัสการหลวงพ่อคูณ
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป การเข้านมัสการจะเป็นวันละสองครั้ง 10.00-11.00 น.,และ 14.00-17.00 น.
ที่ตั้ง:ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด

ด่านเกวียน

ชุมชนช่างปั้นลุ่มแม่น้ำมูล
เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีชื่อเสียงลือเลื่องไปทั่วประเทศ มีรูปแบบที่ทันสมัยและมีเอกลักษณ์สวยงาม ปัจจุบันมีชาวด่านเกวียนได้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตในครัวเรือนคราวละจำนวนน้อย สู่ระบบการผลิตคราวละจำนวนมาก โดยช่างปั้นเป็นชาวด่านเกวียน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมการทำเครื่องปั้นดินเผาภายในบริเวณร้าน
ที่ตั้งและการเดินทาง : ริม ถ.โคราช-โชคชัย บ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย ห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 15 กม.

ถนนสายมิตรภาพ

ที่เรียกกันว่า "ถนนสายมิตรภาพ" เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นผู้ให้เงินสนับสนุนในการสร้างช่วงสงครามเวียดนาม ถนนสายนี้สร้างผ่านกลางพื้นที่ป่าดงพญาเย็น ส่งผลให้ป่าผืนนี้ถูกแผ้วถางไปหมดสิ้น ถ.สายมิตรภาพ ใช้งานในปี พ.ศ.2501 นับเป็นถนนที่เรียบและกว้างขวางในยุคนั้น จนเล่าลือกันว่าอเมริกาจะใช้เป็นที่ลงจอดเครื่องบินรบในช่วงสงคราม ในสมัยพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปรับปรุงขยาย ถ.มิตรภาพให้เป็นถนนสี่เลน

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง

กินอาหารพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์ริมอ่างเก็บน้ำ


ลำตะคองเป็นสายน้ำสำคัญอีกสายหนึ่งของโคราช ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เมื่อมีการสร้างเขื่อนลำตะคอง จึงเกิดพื้นที่น้ำท่วมถาวรกว้างใหญ่กลายเป็นทิวทัศน์สวยงามที่มีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่นิยมมาพักผ่อนชมวิว ซึ่งเขื่อนลำตะคองจะเลียบไปกับทางหลวง
ที่ตั้งและการเดินทาง :ริม ถ.มิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข -) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว ก่อนถึงตัวเมืองโคราชประมาณ 62 กม.

อช.เขาใหญ่

ท่องป่า เล่นน้ำตก ชมทิวทัศน์



-ด่านตรวจ ชญ.1 เปิดเวลา 0600 - 2100 น.
-ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถยนต์ 50 บาท
-มีบ้านพักโรงนอน ที่กางเต้นท์ที่ผากล้วยไม้-มีร้านอาหารบริเวณที่ทำการฯ และตามน้ำตกต่างๆ
-มีรถส่องสัตว์ตอนกลางคืนบริการ 300บาท/คัน (นั่งได้ประมา 10 คน)-อช.เขาใหญ่ ตู้ ปณ.9 ปท. ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทร.0-3731-9002

เขาแผงม้า

เข้าป่าซุ่มดูกระทิง :ที่ตั้งและการเดินทาง: หมู่ 4 บ้านเขาแผงม้า ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว
สิ่งที่น่าสนใจ :เฝ้าดูกระทิง ซึ่งเป็นแหล่งที่ฝูงวัวกระทิงมักพากันออกมาหากิน
- มีบ้านพัก ที่กางเต้นท์ (มีเต้นท์ให้เช่า)
- ควรนำกล้องสองตา/คู่มือดูนกไปด้วย
- ควรติดต่อคนนำทาง



ฟาร์มโชคชัย



ชมฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย:
- ค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 180 บาท เด็ก 90 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 150 บาท
- มีรถฟาร์มแทร็กเตอร์บริการพร้อมเจ้าหน้าที่นำชม
- เปิดให้เข้าชมเป็นรอบ เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ตั้งแต่เวลา 09.00 - 1500 น. อังคาร - ศุกร์ เวลา 10.00 และ 1400 น.
- สำรองที่นั่งล่วงหน้าก่อน 3 วัน ได้ที่ กทม. โทร. 0-2532-2846-8 ต่อ 135, 0-2523-9103
- ฟาร์มโชคชัย โทร. 0-4432-8485 ต่อ 116, 0-4432-8386

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ที่มาของชื่อโคราช


เมืองโคราฆปุระ เป็นชุมชนโบราณแรกเริ่มของโคราชที่ตั้งอยู่ใน อ.สูงเนิน คู่กับเมืองเสมาซึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งน้ำลำตะคอง เมืองโคราฆปุระ เดิมชื่อ เมืองขวางธบุรีศรีมหานครราช ชาวบ้านเรียกสั้นๆว่า คอนราช จนเพี้ยนเป็น "โคราช"และสันนิษฐานว่าชื่อจังหวัดในปัจจุบันมาจากชื่อเมืองโบราณทั้งสองเมืองรวมกันคือ คอนราช กับเสมา กลายเป็น นครราชสีมา

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประสาทหินพิมาย


ตั้งอยู่ใน อ.พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองที่มีโบราณสถานที่สำคัญและมีความสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากมีขนาดใหญ่และสำคัญนี่เอง พระเจ้าแผ่นดินเขมรสมัยโบราณจึงต้องตัดถนนผ่านจากพระนคร (อังกอร์) ซึ่งเป็นเมืองราชธานีของเขมรมายังเมืองพิมายทิ่อยู่ทางใต้ ดังนั้นเมืองพิมายจึงหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับกับถนนเส้นสำคัญนี้ ไม่เหมือนกับประสาทเขมรอื่นๆ ปกติชุมชนเขมรจะตั้งห่างจากแม่น้ำ แต่จะขุดสระน้ำเอาไว้ใช้ประโยชน์เอง ที่เรียกว่า บาราย แต่เมืองพิมายตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำมูล สันนิษฐานว่า เพราะเป็นชุมชนเก่ามาก่อนวัฒนธรรมเขมรจะเข้ามา มีการพบศิลปวัตถุแบบทวาราวดีด้วย เมืองเขมรน่าจะมาสร้างทับทวารวดีภายหลัง บนถนนสายนี้นอกจากประสาทพิมายแล้วยังมีประสาทอื่นๆ อีกเช่น ประสาทเมืองต่ำ, ประสาทเขาพนมรุ้ง และยังมีลำน้ำเล็กๆ ขวางอยู่คือ ลำน้ำเค็ม เชื่อกันว่าเป็นลำน้ำที่ใช้ลำเลียงหินทรายจากที่ใกล้เคียงมาสร้างประสาท ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 70กิโลเมตร สำหรับหินทรายที่ใช้ในการก่อสร้างปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามาจากที่ไหนบ้าง เนื่องจากแหล่งตัดหินทรายที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากประสาทหินพิมายถึง 70กิโลเมตร ที่บ้านมอจะบก อ.สี่คิ้ว นครราชสีมา ซึ่งจะเห็นได้ตลอด 2ข้างทางของถนนมิตรภาพ ทำให้เราไม่แน่ใจว่าหินที่สร้างประสาทจะมาจากที่นี่เพราะระยะทางไกลเกินไป น่าจะนำไปสร้างประสาทหินเล็กๆ ใกล้แถบนั้นมากกว่า ถัดจากลำน้ำเค็มจะมีท่าน้ำอยู่เรียกว่า ท่านางสระผม ถัดจากท่าน้ำจะเป็นถนนตัดตรงขึ้นมาอีกจนถึงประตูเมืองทางทิศใต้ ถือว่าเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุดอยู่ทางด้านหน้าเรียกว่า ประตูชัย ซึ่งทำด้วยศิลาแลงทั้งหมด ประตูถูกสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งถ้าเราเห็นสิ่งก่อสร้างจากศิลาแลงให้ทำนายได้เลยว่า 90% เป็นศิลปะบายน จากการขุดแต่งโดยกรมศิลปากรเมื่อกว่า 10 ปี จะพบประติมากรรมเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร , นางปรัชญาปรมิตา ซึ่งเป็นศิลปะร่วมแบบบายน นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์แบบมหายาน ในประสาทหินพิมาย จุดแรกที่สร้างคือ อาคารที่อยู่หน้าประสาท เรียกว่า คลังเงิน ซึ่งเป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกภายหลัง เนื่องเพราะชาวบ้านได้พบเหรียญเงินสมัยอยุธยาที่นี่ ภายหลังจึงรู้ว่าที่นี่คือ พลับพลาเปลื้องเครื่อง เหมือนกับโรงช้างเผือกที่ประสาทพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมายที่คลังเงินพบทับหลังชิ้นหนึ่ง จำหลักภาพที่ตีความได้ว่าเป็น พิธีอัศวเมศ ในอินเดียสมัยก่อน เมื่อพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเสวยราชย์ ต้องมีการทดสอบเมืองขึ้นว่ายังจงรักภักดีอยู่หรือไม่โดยการปล่อยม้าไปยังเมืองเหล่านั้น ถ้าเมืองไหนเปิดประตูรับม้าแสดงว่ายังอ่อนน้อมจงรักภักดีอยู่ แต่ถ้าปิดประตูแสดงว่าแข็งเมืองก็จะมีกองทัพตามม้าเข้าไปโจมตีเมืองนั้นทันที ถ้าม้าไปครบทุกเมืองแล้วก็จะกลับมายังราชธานี แล้วทำการบูชายัญม้าเพื่อให้ขึ้นสวรรค์ไป จากคลังเงินก็มาถึงสะพานนาคซึ่งเป็นสะพานที่อยู่ด้านหน้า มีแผนผังเป็นรูปกากบาทที่ขอบสะพานจะมีนาคเลื้อยอยู่โดยรอบ นาคจะมีรัศมีเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกันเป็นศิลปะแบบนครวัด เป็นนาค 7เศียร ที่สำคัญคือมีรัศมีเชื่อมต่อกันโดยรอบจะถือว่าเป็นศิลปะแบบนครวัด

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมายสะพานนาคหมายถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ สมัยโบราณหลังฝนหยุดตกก็จะเห็นรุ้งกินน้ำ คนโบราณถือว่ารุ้งกินน้ำเป็นสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ สะพานนาคนี้เปรียบเสมือนรุ้งนั่นเอง ก่อนข้ามสะพานมา จะมีสิงโตยืนอยู่ 2ตัว (สิงโตไม่ใช่สัตว์พื้นเมืองของเอเชียอาเนย์ ในป่าแถบนี้จะไม่พบสิงโตเลย ดังนั้นถ้าเห็นสิงโตที่ไหนแสดงว่าเป็นการรับอิทธิพลมาจากภายนอก ไม่อินเดียก็จีน) การที่สิงโตปรากฏในเขมรก็เพราะได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียแล้วมาปรับให้เป็นสิงโตแบบเขมร ลักษณะของสิงโตที่เห็นมีวิวัฒนาการเจริญสูงสุดตรงกับสมัยพญานาคที่เป็นแบบนครวัดสิงโตช่วงแรกจะนั่งบน 2 ขาหลังอย่างแท้จริง แต่สมัยนครวัด สิงโตจะยืนตรงบน 2ขาหน้าและครึ่งนั่งครึ่งยืนบน 2ขาหลัง ยืนลักษณะนั่งก็ไม่ใช่ ยืนก็ไม่เชิง เป็นนั่งแบบยงโย่ยงหยก เป็นเอกลักษณ์ของสิงโตแบบนครวัดที่งามที่สุดของวัฒนธรรมเขมร การนำรูปสิงโตมาตั้งไว้ทั้ง 2 ข้าง หมายถึงทวารบาล (ผู้เฝ้า ผู้พิทักษ์รักษาประตูทางเข้า หรือบันไดทางขึ้น) เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ถัดจากสะพานนาคเป็นกำแพงล้อมประสาททำด้วยหินทรายทั้งหมด ซึ่งเป็นหินทราย 2 สี คือ

-หินทรายสีเทา

-หินทรายสีชมพู

ช่างสมัยก่อนจะรู้ว่าหินทรายสีเทามีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักดีกว่าสีชมพู จึงใช้สีเทาในส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นเสา,คาน,กรอบประตู-หน้าต่าง แต่ถ้าเป็นผนัง,หลังคา จะใช้หินทรายสีชมพู เมื่อมีการซ่อมประสาทใหม่ในปี 2507 นาย เบอนาร์ด ฟิลิป โกลิเยร์ ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการซ่อมประสาทเป็นครั้งแรกอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมาย

นายโกลิเยร์ กล่าวว่า การซ่อมประสาทหินสามารถซ่อมได้เฉพาะหินสีเทาเท่านั้น เพราะว่าการซ่อมต้องรื้อประสาทออกทั้งหลังแล้วประกอบเข้าไปใหม่ แต่หินทรายสีชมพูถ้านำออกมาจะแตกเป็นผงไม่สามารถนำกลับเข้าไปใหม่ได้ จึงต้องใช้ปูนซีเมนต์เข้าไปฉาบแล้วระบายสีชมพูแทน จึงไม่ได้มีการซ่อมตรงส่วนนี้ทั้งหมด อาคารที่โกลิเยร์ไม่แตะเลย คือ โคปุระ,กำแพง,ปรางค์หินแดง และระเบียงคดต่อมานักวิชาการชาวไทยบอกว่าสามารถซ่อมได้ เลยซ่อมโคปุระด้านหน้าโดยใช้หินต่างขนาดกันมาใส่แทนชื่อ พิมาย ได้ปรากฎบนศิลาจารึกที่พบที่ประสาทพิมาย เดิมเรียกเมืองนี้ว่า วิมายะปุระ (พระผู้ปราศจากมายา) คือพระพุทธเจ้า ดังนั้นประสาทหินนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิมายะ ซึ่งมีจารึกที่กรอบประตู เสนาบดีไตรโลกยวิชัยได้สถาปนารูป กมรเตงชุกตวิมาย ขึ้นให้เป็นมหาศักราชหรือ 1108 ทำให้เห็นว่าประสาทหินพิมายต้องสร้างขึ้นก่อนแล้ว ถ้าถามความเป็นมาของเมืองพิมายจากชาวบ้านแล้ว ก็จะมีนิทานปรัมปราเป็นเรื่องรักสามเส้า เกี่ยวกับ ท้าวปาจิตกับนางอรพิม ต่อมามีกษัตริย์ชราองค์หนึ่งนามว่า ท้าวพรหมทัต ได้ยินกิตติศัพท์ของนางอรพิมว่างามมาก จึงลักพาตัวไปซ่อนไว้ตามเมืองต่างๆ ในที่สุดก็มาซ่อนที่เมืองนี้ ท้าวปาจิตเที่ยวตามหาจนรู้ว่ามาอยู่ที่เมืองนี้แต่เข้าไปไม่ได้ ก็ตะโกนเรียกอยู่หน้าเมืองว่า พี่มาแล้ว พี่มาแล้วนานเข้าเพี้ยนจนเป็น พิมายอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมาย

พิมาย มาจากคำว่า วิมาย เป็นภาษาสันสกฤต พ กับ ว เปลี่ยนแทนกันได้ อย่างเช่น วิมาย เป็น พิมาย, วัชระ เป็น เพชระ ฉะนั้นคำว่าพิมายจึงมาจากศิลาจารึกที่สลักบอกไว้คือ วิมายปุระ ,ปุระคือบุรี หรือเมือง เมืองวิมายเพี้ยนเป็นพิมาย ซึ่งเป็นศาสนสถานที่อยู่กลางเมืองพิมาย เรียกว่าประสาทหินพิมาย ถือได้ว่าเป็นประสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุด และตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมเขมรที่อยู่ในภาคอีสาน เมื่อเทียบความสวยแล้ว ประสาทหินพนมรุ้งจะสวยกว่าเพราะสร้างด้วยหินทรายสีชมพูทั้งหลัง และประสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนบรรพตที่งามที่สุดในประเทศไทย แต่จะเป็นลักษณะเดียวกันคือเป็นศาสนสถาน แต่พนมรุ้งสร้างในศาสนาฮินดู เพื่อถวายพระอิศวรหรือพระศิวะ แต่พิมายสร้างเป็นพุทธสถานถวายพระพุทธเจ้าที่มีชื่อว่า วิมาย

ทางเดินที่เราเห็นยกสูงในปัจจุบันนี้ คาดว่าสมัยก่อนจะมีหลังคามุงอยู่ล้อมรอบ เพราะพบหลุมเสาอยู่ 2 ข้างทางเดิน ถัดจากทางเดินคือระเบียงคด เป็นทางยาวขวางกั้นอยู่ จะหักมุมฉากล้อมรอบอาคาร สร้างด้วยหินทรายทั้ง 2ชนิด คือ สีเทาและสีชมพู ช่างสมัยโบราณจะใช้หินทราบสีเทาสร้างเสา,คาน,กรอบประตู-หน้าต่างและทับหลัง ส่วนสีชมพูสร้างในส่วนของผนังหลังคา

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมายในสมัยก่อนการก่อหินหรืออิฐจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียด้วยการเหลื่อมหินเข้าหากันตรงกลางทีละนิดจนบรรจบกันหมด เรียกว่า การสันเลื่อม แต่จะเกิดข้อเสียอย่างหนึ่งคืออาคารจะค่อนข้างแคบ และไม่สามารถขยายให้กว้างได้เนื่องจากมีหลังคาเป็นตัวบังคับอยู่ แต่ในสมัยก่อนต้องการที่จะให้จุคนได้มากๆ ดังนั้นจึงต้องขยายจากแนวกว้างออกไปแทนจึงกลายเป็นระเบียงคด ซึ่งเป็นวิวัฒนาการชั้นหลังของประสาทเขมร โดยจะมีศิลปะแบบคลาสิกเรียกว่าแบบบาปวน นครวัด บายน จะมีระเบียงคดล้อมรอบเสมอ

ในประสาทหินพิมายจะมีประสาทสำคัญๆ ที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนอยู่ 3 องค์ คือ

- ประสาทหลังใหญ่ตรงกลาง เรียกว่า ประสาทประธาน ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด ตัวประสาทมีวิมาน, อันตราละมุขสัน และมณฑปเชื่อมต่อกันอยู่ ด้านซ้ายเรียกว่าปรางค์หินแดง ใช้หินทรายสีชมพูในการสร้าง ส่วนขวามือเป็นปรางค์ศิลาแลงทั้งหลัง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต

อาคารทั้ง 2 หลังต่อกัน ส่วนสำคัญที่สุดคือ วิมานด้านหลังจะมีห้องที่ไว้รูปเคารพด้านใน ที่พิมายเป็นประสาทที่สร้างถวายพระพุทธเจ้า รูปเคารพจะเป็นพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปในเขมรร้อยละ 90เป็นปางนาคปรก นั่งเหนือขนดนาคมีเศียรนาคแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง ที่พิมายนี้เป็นพระพุทธรูปจำลองทำด้วยปูนซีเมนต์ ส่วนองค์จริงย้ายไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พิมาย

องค์ประกอบด้านนอกประสาทมีองค์ประกอบ 4 ส่วนที่สำคัญคือ

- หน้าบัน (Pediment) ที่กรอบหน้าบันเป็นลักษณะตัวพญานาค โค้งไปโค้งมาที่ปลายเป็นนาค 5 เศียร มีรัศมีเชื่อมติดต่อเป็นแผ่นเดียวกัน เป็นศิลปะแบบนครวัด ตัวหน้าบันจะเป็นภาพเล่าเรื่องรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรทรงฟ้อนรำ)บางคนสงสัยว่าที่ประสาทแห่งนี้สร้างถวายพระพุทธศาสนาทำไมมีรูปพระอิศวร แต่นักวิชาการบางคนมองว่า อาจเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรก็ได้ แต่ถ้าดูดีๆ ทางขวามือจะมีภาพฤาษีอยู่ตนหนึ่ง และมีโคหมอบอยู่ ซึ่งโคเป็นพาหนะของพรอิศวรนั่นเอง จึงสรุปได้ว่าเป็นรูปพระศิวะทรงฟ้อนรำและเป็นภาพเล่าเรื่องจึงเป็นแบบนครวัดอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมาย

- ทับหลัง (lintel) สี่เหลี่ยมผืนผ้าข้างล่างลงมาของปราสาทคือทับหลัง แต่ที่ประสาทนี้ไม่มีแล้ว ภาพถ่ายล่าสุดที่มีอยู่คือสมัยรัชกาลที่ 4ก็ไม่พบทับหลังแล้ว น่าจะหายไปก่อนหน้านี้

- เสาประดับกรอบประตู (colonet)เป็นศิลปะนครวัด ทรง8เหลี่ยม ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน

- เสาติดผนัง (pilaster) เป็นศิลปะบาปวนยังคงสมบูรณ์เป็นลายก้านต่อดอกแบ่งเป็น 3ส่วน คือ ก้าน, กะเปาะ และดอกไม้ ที่ก้านมี 2ขีด แบ่งก้านลายเป็น 3ส่วน เป็นเอกลักษณ์แบบบาปวน แต่บริเวณนี้มีศิลปะนครวัดเป็นส่วนใหญ่ และแบบบาปวนเป็นส่วนน้อย เลยกลายเป็นศิลปะผสมนครวัดแบบบาปวน เป็นนครวัดตอนต้น

การเรียกศิลปะ 2สมัยผสมกัน สมัยเก่า+สมัยใหม่ เวลาเรียกให้เรียกรูปแบบหลัง หรือรูปแบบล่าสุดเป็นหลัก แล้วเติมคำว่าตอนต้นลงไป เพราะยังมีของเก่าผสมอยู่ ดังนั้นจึงเรียกว่า Early ankor Wat style หรือ Transitional

เที่ยวเมืองโคราช (อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี)

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 ตั้งอยู่หน้าประตูชุมพล ซึ่งเป็นประตูเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตก อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดง รมดำสูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานที่อยู่ที่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 2.5เมตร แต่งกายด้วยเครื่อง ยศพระราชทาน มือขวา กุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี เป็นที่เคารพ สักการะของชาวจังหวัด นครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียงค่ะ