วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประสาทหินพิมาย


ตั้งอยู่ใน อ.พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองที่มีโบราณสถานที่สำคัญและมีความสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากมีขนาดใหญ่และสำคัญนี่เอง พระเจ้าแผ่นดินเขมรสมัยโบราณจึงต้องตัดถนนผ่านจากพระนคร (อังกอร์) ซึ่งเป็นเมืองราชธานีของเขมรมายังเมืองพิมายทิ่อยู่ทางใต้ ดังนั้นเมืองพิมายจึงหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับกับถนนเส้นสำคัญนี้ ไม่เหมือนกับประสาทเขมรอื่นๆ ปกติชุมชนเขมรจะตั้งห่างจากแม่น้ำ แต่จะขุดสระน้ำเอาไว้ใช้ประโยชน์เอง ที่เรียกว่า บาราย แต่เมืองพิมายตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำมูล สันนิษฐานว่า เพราะเป็นชุมชนเก่ามาก่อนวัฒนธรรมเขมรจะเข้ามา มีการพบศิลปวัตถุแบบทวาราวดีด้วย เมืองเขมรน่าจะมาสร้างทับทวารวดีภายหลัง บนถนนสายนี้นอกจากประสาทพิมายแล้วยังมีประสาทอื่นๆ อีกเช่น ประสาทเมืองต่ำ, ประสาทเขาพนมรุ้ง และยังมีลำน้ำเล็กๆ ขวางอยู่คือ ลำน้ำเค็ม เชื่อกันว่าเป็นลำน้ำที่ใช้ลำเลียงหินทรายจากที่ใกล้เคียงมาสร้างประสาท ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 70กิโลเมตร สำหรับหินทรายที่ใช้ในการก่อสร้างปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามาจากที่ไหนบ้าง เนื่องจากแหล่งตัดหินทรายที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากประสาทหินพิมายถึง 70กิโลเมตร ที่บ้านมอจะบก อ.สี่คิ้ว นครราชสีมา ซึ่งจะเห็นได้ตลอด 2ข้างทางของถนนมิตรภาพ ทำให้เราไม่แน่ใจว่าหินที่สร้างประสาทจะมาจากที่นี่เพราะระยะทางไกลเกินไป น่าจะนำไปสร้างประสาทหินเล็กๆ ใกล้แถบนั้นมากกว่า ถัดจากลำน้ำเค็มจะมีท่าน้ำอยู่เรียกว่า ท่านางสระผม ถัดจากท่าน้ำจะเป็นถนนตัดตรงขึ้นมาอีกจนถึงประตูเมืองทางทิศใต้ ถือว่าเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุดอยู่ทางด้านหน้าเรียกว่า ประตูชัย ซึ่งทำด้วยศิลาแลงทั้งหมด ประตูถูกสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งถ้าเราเห็นสิ่งก่อสร้างจากศิลาแลงให้ทำนายได้เลยว่า 90% เป็นศิลปะบายน จากการขุดแต่งโดยกรมศิลปากรเมื่อกว่า 10 ปี จะพบประติมากรรมเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร , นางปรัชญาปรมิตา ซึ่งเป็นศิลปะร่วมแบบบายน นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์แบบมหายาน ในประสาทหินพิมาย จุดแรกที่สร้างคือ อาคารที่อยู่หน้าประสาท เรียกว่า คลังเงิน ซึ่งเป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกภายหลัง เนื่องเพราะชาวบ้านได้พบเหรียญเงินสมัยอยุธยาที่นี่ ภายหลังจึงรู้ว่าที่นี่คือ พลับพลาเปลื้องเครื่อง เหมือนกับโรงช้างเผือกที่ประสาทพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมายที่คลังเงินพบทับหลังชิ้นหนึ่ง จำหลักภาพที่ตีความได้ว่าเป็น พิธีอัศวเมศ ในอินเดียสมัยก่อน เมื่อพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเสวยราชย์ ต้องมีการทดสอบเมืองขึ้นว่ายังจงรักภักดีอยู่หรือไม่โดยการปล่อยม้าไปยังเมืองเหล่านั้น ถ้าเมืองไหนเปิดประตูรับม้าแสดงว่ายังอ่อนน้อมจงรักภักดีอยู่ แต่ถ้าปิดประตูแสดงว่าแข็งเมืองก็จะมีกองทัพตามม้าเข้าไปโจมตีเมืองนั้นทันที ถ้าม้าไปครบทุกเมืองแล้วก็จะกลับมายังราชธานี แล้วทำการบูชายัญม้าเพื่อให้ขึ้นสวรรค์ไป จากคลังเงินก็มาถึงสะพานนาคซึ่งเป็นสะพานที่อยู่ด้านหน้า มีแผนผังเป็นรูปกากบาทที่ขอบสะพานจะมีนาคเลื้อยอยู่โดยรอบ นาคจะมีรัศมีเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกันเป็นศิลปะแบบนครวัด เป็นนาค 7เศียร ที่สำคัญคือมีรัศมีเชื่อมต่อกันโดยรอบจะถือว่าเป็นศิลปะแบบนครวัด

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมายสะพานนาคหมายถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ สมัยโบราณหลังฝนหยุดตกก็จะเห็นรุ้งกินน้ำ คนโบราณถือว่ารุ้งกินน้ำเป็นสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ สะพานนาคนี้เปรียบเสมือนรุ้งนั่นเอง ก่อนข้ามสะพานมา จะมีสิงโตยืนอยู่ 2ตัว (สิงโตไม่ใช่สัตว์พื้นเมืองของเอเชียอาเนย์ ในป่าแถบนี้จะไม่พบสิงโตเลย ดังนั้นถ้าเห็นสิงโตที่ไหนแสดงว่าเป็นการรับอิทธิพลมาจากภายนอก ไม่อินเดียก็จีน) การที่สิงโตปรากฏในเขมรก็เพราะได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียแล้วมาปรับให้เป็นสิงโตแบบเขมร ลักษณะของสิงโตที่เห็นมีวิวัฒนาการเจริญสูงสุดตรงกับสมัยพญานาคที่เป็นแบบนครวัดสิงโตช่วงแรกจะนั่งบน 2 ขาหลังอย่างแท้จริง แต่สมัยนครวัด สิงโตจะยืนตรงบน 2ขาหน้าและครึ่งนั่งครึ่งยืนบน 2ขาหลัง ยืนลักษณะนั่งก็ไม่ใช่ ยืนก็ไม่เชิง เป็นนั่งแบบยงโย่ยงหยก เป็นเอกลักษณ์ของสิงโตแบบนครวัดที่งามที่สุดของวัฒนธรรมเขมร การนำรูปสิงโตมาตั้งไว้ทั้ง 2 ข้าง หมายถึงทวารบาล (ผู้เฝ้า ผู้พิทักษ์รักษาประตูทางเข้า หรือบันไดทางขึ้น) เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ถัดจากสะพานนาคเป็นกำแพงล้อมประสาททำด้วยหินทรายทั้งหมด ซึ่งเป็นหินทราย 2 สี คือ

-หินทรายสีเทา

-หินทรายสีชมพู

ช่างสมัยก่อนจะรู้ว่าหินทรายสีเทามีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักดีกว่าสีชมพู จึงใช้สีเทาในส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นเสา,คาน,กรอบประตู-หน้าต่าง แต่ถ้าเป็นผนัง,หลังคา จะใช้หินทรายสีชมพู เมื่อมีการซ่อมประสาทใหม่ในปี 2507 นาย เบอนาร์ด ฟิลิป โกลิเยร์ ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการซ่อมประสาทเป็นครั้งแรกอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมาย

นายโกลิเยร์ กล่าวว่า การซ่อมประสาทหินสามารถซ่อมได้เฉพาะหินสีเทาเท่านั้น เพราะว่าการซ่อมต้องรื้อประสาทออกทั้งหลังแล้วประกอบเข้าไปใหม่ แต่หินทรายสีชมพูถ้านำออกมาจะแตกเป็นผงไม่สามารถนำกลับเข้าไปใหม่ได้ จึงต้องใช้ปูนซีเมนต์เข้าไปฉาบแล้วระบายสีชมพูแทน จึงไม่ได้มีการซ่อมตรงส่วนนี้ทั้งหมด อาคารที่โกลิเยร์ไม่แตะเลย คือ โคปุระ,กำแพง,ปรางค์หินแดง และระเบียงคดต่อมานักวิชาการชาวไทยบอกว่าสามารถซ่อมได้ เลยซ่อมโคปุระด้านหน้าโดยใช้หินต่างขนาดกันมาใส่แทนชื่อ พิมาย ได้ปรากฎบนศิลาจารึกที่พบที่ประสาทพิมาย เดิมเรียกเมืองนี้ว่า วิมายะปุระ (พระผู้ปราศจากมายา) คือพระพุทธเจ้า ดังนั้นประสาทหินนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิมายะ ซึ่งมีจารึกที่กรอบประตู เสนาบดีไตรโลกยวิชัยได้สถาปนารูป กมรเตงชุกตวิมาย ขึ้นให้เป็นมหาศักราชหรือ 1108 ทำให้เห็นว่าประสาทหินพิมายต้องสร้างขึ้นก่อนแล้ว ถ้าถามความเป็นมาของเมืองพิมายจากชาวบ้านแล้ว ก็จะมีนิทานปรัมปราเป็นเรื่องรักสามเส้า เกี่ยวกับ ท้าวปาจิตกับนางอรพิม ต่อมามีกษัตริย์ชราองค์หนึ่งนามว่า ท้าวพรหมทัต ได้ยินกิตติศัพท์ของนางอรพิมว่างามมาก จึงลักพาตัวไปซ่อนไว้ตามเมืองต่างๆ ในที่สุดก็มาซ่อนที่เมืองนี้ ท้าวปาจิตเที่ยวตามหาจนรู้ว่ามาอยู่ที่เมืองนี้แต่เข้าไปไม่ได้ ก็ตะโกนเรียกอยู่หน้าเมืองว่า พี่มาแล้ว พี่มาแล้วนานเข้าเพี้ยนจนเป็น พิมายอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมาย

พิมาย มาจากคำว่า วิมาย เป็นภาษาสันสกฤต พ กับ ว เปลี่ยนแทนกันได้ อย่างเช่น วิมาย เป็น พิมาย, วัชระ เป็น เพชระ ฉะนั้นคำว่าพิมายจึงมาจากศิลาจารึกที่สลักบอกไว้คือ วิมายปุระ ,ปุระคือบุรี หรือเมือง เมืองวิมายเพี้ยนเป็นพิมาย ซึ่งเป็นศาสนสถานที่อยู่กลางเมืองพิมาย เรียกว่าประสาทหินพิมาย ถือได้ว่าเป็นประสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุด และตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมเขมรที่อยู่ในภาคอีสาน เมื่อเทียบความสวยแล้ว ประสาทหินพนมรุ้งจะสวยกว่าเพราะสร้างด้วยหินทรายสีชมพูทั้งหลัง และประสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนบรรพตที่งามที่สุดในประเทศไทย แต่จะเป็นลักษณะเดียวกันคือเป็นศาสนสถาน แต่พนมรุ้งสร้างในศาสนาฮินดู เพื่อถวายพระอิศวรหรือพระศิวะ แต่พิมายสร้างเป็นพุทธสถานถวายพระพุทธเจ้าที่มีชื่อว่า วิมาย

ทางเดินที่เราเห็นยกสูงในปัจจุบันนี้ คาดว่าสมัยก่อนจะมีหลังคามุงอยู่ล้อมรอบ เพราะพบหลุมเสาอยู่ 2 ข้างทางเดิน ถัดจากทางเดินคือระเบียงคด เป็นทางยาวขวางกั้นอยู่ จะหักมุมฉากล้อมรอบอาคาร สร้างด้วยหินทรายทั้ง 2ชนิด คือ สีเทาและสีชมพู ช่างสมัยโบราณจะใช้หินทราบสีเทาสร้างเสา,คาน,กรอบประตู-หน้าต่างและทับหลัง ส่วนสีชมพูสร้างในส่วนของผนังหลังคา

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมายในสมัยก่อนการก่อหินหรืออิฐจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียด้วยการเหลื่อมหินเข้าหากันตรงกลางทีละนิดจนบรรจบกันหมด เรียกว่า การสันเลื่อม แต่จะเกิดข้อเสียอย่างหนึ่งคืออาคารจะค่อนข้างแคบ และไม่สามารถขยายให้กว้างได้เนื่องจากมีหลังคาเป็นตัวบังคับอยู่ แต่ในสมัยก่อนต้องการที่จะให้จุคนได้มากๆ ดังนั้นจึงต้องขยายจากแนวกว้างออกไปแทนจึงกลายเป็นระเบียงคด ซึ่งเป็นวิวัฒนาการชั้นหลังของประสาทเขมร โดยจะมีศิลปะแบบคลาสิกเรียกว่าแบบบาปวน นครวัด บายน จะมีระเบียงคดล้อมรอบเสมอ

ในประสาทหินพิมายจะมีประสาทสำคัญๆ ที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนอยู่ 3 องค์ คือ

- ประสาทหลังใหญ่ตรงกลาง เรียกว่า ประสาทประธาน ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด ตัวประสาทมีวิมาน, อันตราละมุขสัน และมณฑปเชื่อมต่อกันอยู่ ด้านซ้ายเรียกว่าปรางค์หินแดง ใช้หินทรายสีชมพูในการสร้าง ส่วนขวามือเป็นปรางค์ศิลาแลงทั้งหลัง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต

อาคารทั้ง 2 หลังต่อกัน ส่วนสำคัญที่สุดคือ วิมานด้านหลังจะมีห้องที่ไว้รูปเคารพด้านใน ที่พิมายเป็นประสาทที่สร้างถวายพระพุทธเจ้า รูปเคารพจะเป็นพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปในเขมรร้อยละ 90เป็นปางนาคปรก นั่งเหนือขนดนาคมีเศียรนาคแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง ที่พิมายนี้เป็นพระพุทธรูปจำลองทำด้วยปูนซีเมนต์ ส่วนองค์จริงย้ายไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พิมาย

องค์ประกอบด้านนอกประสาทมีองค์ประกอบ 4 ส่วนที่สำคัญคือ

- หน้าบัน (Pediment) ที่กรอบหน้าบันเป็นลักษณะตัวพญานาค โค้งไปโค้งมาที่ปลายเป็นนาค 5 เศียร มีรัศมีเชื่อมติดต่อเป็นแผ่นเดียวกัน เป็นศิลปะแบบนครวัด ตัวหน้าบันจะเป็นภาพเล่าเรื่องรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรทรงฟ้อนรำ)บางคนสงสัยว่าที่ประสาทแห่งนี้สร้างถวายพระพุทธศาสนาทำไมมีรูปพระอิศวร แต่นักวิชาการบางคนมองว่า อาจเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรก็ได้ แต่ถ้าดูดีๆ ทางขวามือจะมีภาพฤาษีอยู่ตนหนึ่ง และมีโคหมอบอยู่ ซึ่งโคเป็นพาหนะของพรอิศวรนั่นเอง จึงสรุปได้ว่าเป็นรูปพระศิวะทรงฟ้อนรำและเป็นภาพเล่าเรื่องจึงเป็นแบบนครวัดอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประสาทหินพิมาย

- ทับหลัง (lintel) สี่เหลี่ยมผืนผ้าข้างล่างลงมาของปราสาทคือทับหลัง แต่ที่ประสาทนี้ไม่มีแล้ว ภาพถ่ายล่าสุดที่มีอยู่คือสมัยรัชกาลที่ 4ก็ไม่พบทับหลังแล้ว น่าจะหายไปก่อนหน้านี้

- เสาประดับกรอบประตู (colonet)เป็นศิลปะนครวัด ทรง8เหลี่ยม ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน

- เสาติดผนัง (pilaster) เป็นศิลปะบาปวนยังคงสมบูรณ์เป็นลายก้านต่อดอกแบ่งเป็น 3ส่วน คือ ก้าน, กะเปาะ และดอกไม้ ที่ก้านมี 2ขีด แบ่งก้านลายเป็น 3ส่วน เป็นเอกลักษณ์แบบบาปวน แต่บริเวณนี้มีศิลปะนครวัดเป็นส่วนใหญ่ และแบบบาปวนเป็นส่วนน้อย เลยกลายเป็นศิลปะผสมนครวัดแบบบาปวน เป็นนครวัดตอนต้น

การเรียกศิลปะ 2สมัยผสมกัน สมัยเก่า+สมัยใหม่ เวลาเรียกให้เรียกรูปแบบหลัง หรือรูปแบบล่าสุดเป็นหลัก แล้วเติมคำว่าตอนต้นลงไป เพราะยังมีของเก่าผสมอยู่ ดังนั้นจึงเรียกว่า Early ankor Wat style หรือ Transitional

ไม่มีความคิดเห็น: